มะเร็งลำไส้
รู้เร็ว รักษาได้
ภัยใกล้ตัว !!! มะเร็งลำไส้
วายร้ายที่ไม่ควรมองข้าม
เช็คด่วน-อาการเสี่ยงมะเร็งลำไส้
อาการเริ่มแรกของมะเร็งลำไส้
มะเร็งลำไส้เป็นโรคที่มีการเจริญเติบโตของเซลล์ผิดปกติในลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก อาการเริ่มแรกของมะเร็งลำไส้อาจไม่ชัดเจนหรือไม่แสดงอาการเลย แต่บางอาการที่พบได้บ่อยในระยะแรก ได้แก่:
1.การเปลี่ยนแปลงในการขับถ่าย: อาจมีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของการขับถ่าย เช่น ท้องผูกหรือท้องเสียเป็นเวลานาน
2.เลือดในอุจจาระ: อาจมีเลือดออกในอุจจาระ ซึ่งอาจมองเห็นได้หรือไม่ก็ได้
3.ความรู้สึกไม่สบายในท้อง: มีอาการปวดท้องหรือความรู้สึกอืดแน่นในท้อง
4.การขับถ่ายที่ไม่สม่ำเสมอ: มีการขับถ่ายที่รู้สึกว่าไม่สุด
5.น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ: น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่มีเหตุผลชัดเจน
6.อ่อนเพลียและเหนื่อยล้า: รู้สึกอ่อนเพลียและเหนื่อยล้าอย่างต่อเนื่อง
มะเร็ง มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
เป็นมะเร็งที่เกิดที่ลำไส้ส่วนปลายของระบบทางเดินอาหาร พบมากเป็นอันดับสามของมะเร็งทุกชนิดและเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับสองที่พบในประเทศไทย
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
การได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรม พ่อ แม่ หรือญาติพี่น้อง และทายาทสายตรง
มีประวัติพบเนื้องอก (Polyps) ในลำไส้ หากพบมากมีแนวโน้มเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
ผู้ป่วยที่มีภาวะลำใส้อักเสบเรื้อรัง
ประวัติการเจ็บป่วยเดิมเช่นเคยเป็นมะเร็งรังไข่, มะเร็งมดลูก, มะเร็งเต้านมมีโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ และ มะเร็งทวารหนักได้
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานโอกาสเป็นมะเร็งได้ง่าย
ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
การรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือประเภทเนื้อแดง ที่ผ่านการปรุงด้วยความร้อนนานๆ มากเกินไป
การรับสารพิษเข้าสู่ร่างกายและมีการตกค้างที่ลำไส้ มักพบสารพิษในอาหารประเภท ปิ้ง ย่าง อาหารหมักดอง และ สารเคมีจากผักที่ไม่สะอาด
ผู้ที่มีประวัติดื่มสุราหรือสูบบุหรี่
ผู้ที่เป็นโรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน (มากกว่า 25 หรือมีรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว)
มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคที่พุ่งขึ้นมาติดอันดับต้นๆ และทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด โดยจากสถิติพบผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่เพศชาย 10 คนต่อประชากรชาย 100,000 คน และเพศหญิง 7 คนต่อ 100,000 คน แต่รู้ไหมว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่ป้องกันได้หากเรารู้สัญญาณ การสังเกตอาการ และวิธีป้องกันตัวเอง เพราะสาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากกรรมพันธุ์เป็นส่วนหนึ่งแล้ว พฤติกรรมการทานอาหารของคนไทยเรานี่ล่ะ คือ สาเหตุหลักของมะเร็งลำไส้ใหญ่
ที่สำคัญ มะเร็งลำไส้ใหญ่ยังเป็นโรคที่จะส่งสัญญาณเตือนออกมาเป็นอาการที่เราเห็นได้ชัดในชีวิตประจำวัน หากคอยหมั่นสังเกตตัวเองสักนิด ก็จะรู้ทันและสามารถป้องกันและหยุดยั้งแต่เนิ่นๆ ได้ และนี่คือ 6 สัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
1. ท้องผูกบ่อยจนกลายเป็นเรื่องปกติ
บางคนมีปัญหาเรื่องท้องผูกมาตั้งแต่เด็กๆ อาจเป็นเพราะพฤติกรรมการกินที่ไม่กินผักผลไม้ ร่างกายไม่ได้รับไฟเบอร์เพียงพอ และดื่มน้ำน้อย ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานไม่ดี แต่ในบางคนอาจมีอาการท้องผูก เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตในวัยทำงาน และปล่อยให้ท้องผูกเรื้อรังจนมองว่าเป็นเรื่องปกติในชีวิต พฤติกรรมนี้ล่ะ คือสัญญาณหนึ่งที่บอกว่าคุณมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคต
2. อุจจาระลีบเป็นลำเล็ก
เนื่องจากมะเร็งลำไส้ใหญ่มักเริ่มจากการมีติ่งเนื้อขึ้นมาในลำไส้ ซึ่งอาจเป็นติ่งเนื้อธรรมดา
ไม่ใช่เนื้อร้าย แล้วจึงพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งลำไส้ในภายหลัง การมีติ่งเนื้อขึ้นขวางภายในลำไส้นี้จึงทำให้อุจจาระที่เคลื่อนผ่านลำไส้ใหญ่มีลักษณะถูกบีบให้เป็นลำเล็กลีบ ดังนั้นหากสังเกตได้ว่าอุจจาระมีลักษณะเล็กลีบเป็นประจำ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าคุณมีก้อนเนื้อหรือติ่งเนื้อขึ้นในลำไส้
3. มีเลือดสดหรือเลือดสีแดงเข้มมากปนมากับอุจจาระ
อาจเกิดจากอุจจาระที่แข็งเมื่อเบียดกับติ่งเนื้อที่ขึ้นผิดปกติภายในลำไส้เกิดเป็นแผลทำให้มีเลือดออกและปนออกมาในบางครั้งที่ขับถ่าย
4. มีอาการท้องเสียสลับกับท้องผูก
การอุจจาระแข็ง และ เหลวสลับกัน เป็นติดต่อกันแบบมีอาการเรื้อรัง ถึงแม้ว่าจะกินอาหารที่เหมาะสมไม่ได้เป็นสาเหตุให้ท้องเสียก็ยังมีอาการนี้อยู่ นี่อาจเป็นความผิดปกติที่เกิดจากภายในลำไส้
5. กินอาหารเท่าเดิมแต่น้ำหนักลดฮวบฮาบ
ลักษณะอาการคือน้ำหนักตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีพฤติกรรมการกินอาหารแบบเดิมหรือมากกว่าเดิม
6. อ่อนเพลียอ่อนแรงแบบไม่มีสาเหตุ
อาจเกิดจากการที่มีเลือดออกในลำไส้ ปนออกมากับอุจจาระ หากเสียเลือดจากการขับถ่ายมากอาจมีภาวะซีด และโลหิตจางร่วมด้วย และ ยิ่งทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียอ่อนแรง ต่อเนื่องมากขึ้นอีก ถึงแม้โรคมะเร็งลำไส้ จะเป็นมะเร็งร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับสามในปัจจุบันนี้ แต่หากเราระวังในพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิต และหมั่นสังเกตตัวเองได้ทันการ จะได้รีบทำการรักษาได้ทันท่วงที โอกาสรอดชีวิตก็ยิ่งสูงขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ (Risk of Colorectal cancer)
มะเร็งลำไส้ (Colorectal cancer) เป็นมะเร็งที่พบเป็นลำดับที่ 4 ในสหรัฐอเมริกา และในปี 2016 ประมาณการว่าพบผู้ป่วยใหม่ ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ 95,270 ราย/ปี และลำไส้ตรง 39,220 ราย/ปี และในปีเดียวกันพบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตถึง 49,190 ราย จากมะเร็งลำไส้ใหญ่ และ ลำไส้ตรง
สำหรับประเทศไทย มะเร็งลำไส้ อุบัติการณ์ของการเกิด มะเร็งลำไส้มากเป็นลำดับที่ 4 เช่นกัน หรือพบผู้ป่วยรายใหม่ 11,496 ราย/ปี อัตราการเสียชีวิต 6,845 ราย/ปี รองจาก มะเร็งตับ, มะเร็งปอด และ มะเร็งเต้านม ตามลำดับ ซึ่งอัตราการตายในมะเร็งลำไส้นั้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อมีการตรวจคัดกรอง และ ป้องกันการเกิดด้วยการตัดติ่งเนื้อ (Polypectomy) ตั้งแต่อาการเริ่มแรกของตัวโรคเริ่มเกิดขึ้น ดังนั้น การทราบถึงปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค จึงเป็นประโยชน์ ในการที่ทราบถึงกลุ่มเสี่ยง แง่ของการตรวจคัดกรองในกลุ่มต่าง ๆ อีกด้วย
กลุ่มเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงที่ต่างกันโดยปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวมีดังต่อไปนี้
1. ปัจจัยความเสี่ยงจากตัวบุคคล (Non-modifiable risk factors)
2. ปัจจัยความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม (Environmental risk factors)- อายุ (Age)
-พบว่าอัตราการเกิดมะเร็ง.มะเร็งลำไส้เพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในอายุมากกว่า 50 ปี โดย ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้มากกว่า ร้อยละ 90 มีอายุมากกว่า 50 ปี และยิ่งในช่วงอายุ 60-79 ปีพบว่า มีโอกาสเสี่ยงมากถึง 50 เท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มคนอายุน้อยกว่า 40 ปี แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน พบผู้ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ ในกลุ่มคนอายุ 20-49 ปี เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
- ประวัติการเกิดมะเร็ง.มะเร็งลำไส้ในครอบครัว(Family history of colorectal cancer)
แม้ว่าผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ส่วนใหญ่จะเกิดในคนที่ครอบครัวไม่มีประวัติการเป็นมะเร็งลำไส้ในครอบครัว แต่ทว่า พบว่ามีโอกาส มากกว่าร้อยละ 20 ในการป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ของคนที่มีประวัติมีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ในครอบครัว สำหรับเหตุผลยังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่าอาจเกิดจาการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และ สิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะเหมือนกัน ร่วมกันหลายปัจจัย
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Inherited Genetic Risk)
-ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 5-10 ของมะเร็งลำไส้เป็นผู้ป่วยที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ได้แก่ Familial adenomatous polyposis (FAP), Hereditary nonpolyposis colorectal cancer (HNPCC) หรือ Lynch syndromeในผู้ป่วย FAP ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1 ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ทั้งหมด สาเหตุเกิดจากการ mutation ของ APC tumor suppressor gene ถ่ายทอดผ่าน Autosomal dominant manner โดย มาปรากฏด้วยอาการติ่งเนื้อในลำไส้มากกว่า 100 เม็ดขึ้นไป มักปรากฏตั้งแต่อายุยังน้อย และกลายเป็นมะเร็งตั้งแต่อายุยังน้อย หากอายุ 40 ปีขึ้นไปโดยมากมักกลายเป็นมะเร็งลำไส้เกือบทั้งหมดหากไม่ได้รับการผ่าตัด ฉะนั้นการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่ตั้งครรภ์ จึงจำเป็นในกรณีที่สามีภรรยา มีประวัติเป็น FAP และต้องการมีบุตร
-ในส่วนของ ผู้ป่วย HNPCC หรือ Lynch syndrome คิดเป็นร้อยละ 2-6 ของมะเร็งลำไส้ สาเหตุเกิดจากการ mutation ใน MLH1 และ MLH2 gene DNA repair pathway ตลอดช่วงชีวิตมีโอกาสการเกิดมะเร็งลำไส้ สูงถึง ร้อยละ 70-80 และอายุเฉลี่ยของการเกิดมะเร็งลำไส้อยู่ที่ประมาณ 40-50 ปี และยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่อื่นๆได้อีก เช่น มะเร็งมดลูก, มะเร็งกระเพาะ, มะเร็งลำไส้เล็ก, มะเร็งตับอ่อน, มะเร็งไต, มะเร็งท่อทางเดินปัสสาวะ ได้
- ประวัติการเกิดติ่งเนื้อในลำไส้ (Personal history of Adenomatous polyp)
ประวัติติ่งเนื้อในลำไส้ที่เพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ Neoplastic polyp อันได้แก่ tubular และ villous adenomas ซึ่งเป็นรอยโรคที่สามารถกลายเป็นมะเร็งลำไส้ได้ในอนาคต ผลสำรวจในสหรัฐอเมริกาพบว่าในช่วงชีวิต มีโอกาสที่จะเกิดติ่งเนื้อได้ ร้อยละ 19 และ ร้อยละ 95 ของ ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้แบบ Sporadic มีการเกิดจาก adenomatous polyp สำหรับการพัฒนาการเกิดมะเร็งลำไส้จากติ่งเนื้อนั้น ใช้ระยะเวลา 5-10 ปี ดังนั้นหากเราตรวจพบและรักษาตั้งแต่ติ่งเนื้อจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ได้ แต่อย่างไรก็ตามการมีประวัติการเกิดติ่งเนื้อในลำไส้แบบ Neoplastic polyp ได้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ในตำแหน่งอื่น ๆ ของลำไส้เพิ่มขึ้นด้วย
ประวัติการเกิดลำไส้อักเสบ (Personal history of Inflammatory bowel disease)
ลำไส้อักเสบเรื้อรัง(Inflammatory bowel disease)สามารถแบ่งเป็นโรคได้สองโรค คือ Ulcerative colitis และ Crohn disease ในส่วนของ Ulcerative colitis สาเหตุเกิดจากการอักเสบ ในส่วนของ mucosa ของลำไส้ แต่สำหรับ Crohn disease สาเหตุเกิดจาก การอักเสบตลอดชั้นของลำไส้ บางส่วนเกิดการอักเสบได้ที่ปากและทวารหนัก ซึ่งการเกิดการอักเสบของลำไส้ทั้งสองโรคนี้เพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งลำไส้มากขึ้น 4-20 เท่า ดังนั้นในผู้ป่วยที่ป่วยเป็นลำไส้อักเสบเรื้อรัง จึงจำเป็นต้องได้รับการตรวจคัดกรองโรคถี่ขึ้นเป็นพิเศษ
อาการที่พบบ่อยของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรือ อุจจาระมีลักษณะสีเข้ม และมีเลือดปน
อุจจาระเหลว และสลับกับแข็ง มีอาการเหมือนถ่าย
อุจจาระไม่หมด โดยไม่ทราบสาเหตุ
มีอาการท้องผูกบ่อย ๆ ปวดท้อง ท้องอืดมากกว่า 2-3 วัน
อุจจาระมีลักษณะแคบ และเล็กมากกว่าปกติ
มีอาการท้องอืด แน่นในช่องท้อง ไม่สบายท้อง ติดต่อกันเป็นเวลานาน
มีอาการปวดถ่ายอุจจาระต้องเข้าห้องน้ำทันทีแต่ปรากฏว่าถ่ายอุจจาระเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
มีอาการถ่ายอุจจาระไม่สุด
น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
มีอาการเหนื่อยและอ่อนเพลีย
ใครควรได้รับการตรวจระบบทางเดินอาหาร
คนที่นิยมบริโภคเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อแดง อาหารที่มีไขมันสูง กากใยน้อย
คนที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และ สูบบุหรี่
คนที่มีอาการลำไส้ระคายเคือง หรือ ลำไส้อักเสบเรื้อรัง
คนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป
คนที่ครอบครัวเคยมีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งลำไส้ป้องกันได้
แน่นอนว่ามะเร็ง มะเร็งลำไส้ใหญ่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ปล่อยปละละเลยในการดูแลใส่ใจในพฤติกรรมการรับประทานอาหารของตัวเอง หากเราสามารถหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกนี้ได้เช่น อาหารไหม้เกรียม อาหารมัน อาหารปิ้งย่าง เป็นต้น รวมถึงพฤติกรรมในการใช้ชีวิตที่จะทำให้ร่างกายอ่อนแอและเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งคือ การสูบหรี่ ดื่มเหล้า ไม่ออกกำลังกาย หากเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ หันมาทานอาหารที่มีกากใยสูง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ทานผักใบเขียวเยอะๆ
ออกกำลังเป็นประจำสม่ำเสมอ ก็จะสามารถลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ไปได้
มะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่ใช่โรคที่น่ากลัว เพียงแค่เรามีพฤติกรรมการกินที่ถูกหลักโภชนาการ และหลากหลาย หมั่นสังเกตตัวเองว่าการขับถ่ายเป็นปกติดีหรือไม่ และเมื่อพบความผิดปกติก็ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อจะรักษาได้อย่างทันท่วงที ส่วนใครที่ยังไม่มีอาการแสดง ควรตรวจสุขภาพ และตรวจคัดกรองระบบทางเดินอาหาร เพื่อเป็นการป้องกันและห่างไกลมะเร็งลำใส้
ข่าวดีวงการแพทย์ไทย ค้นพบ วิธีรักษามะเร็ง มะเร็งลำไส้
ด้วยสารสกัดเซซามิน(sesamin)จากงาดำ ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้
ไขขอข้องใจ สารสกัดเซซามิน เข้าไปทำอะไรกับ...เซลล์มะเร็ง...
ข่าวการค้นพบสารเซซามิน(sesamin)จากงาดำ เป็นผลงานวิจัยของ ม.เชียงใหม่ การค้นพบในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก ถือว่าเป็นการพัฒนาไปอีกก้าวของวงการแพทย์ไทย และที่สำคัญ นี่เป็นครั้งแรกของโลก ที่พบว่าสารเซซามิน (Sesamin) ที่พบนั้นจะไปยั้บยั้งการฟื้นฟูเซลล์จากการถูกทำลาย หรือพูดง่ายๆ ว่า มีโอกาสที่จะใช้ในการยับยั้งมะเร็งได้ด้วย
สารสกัด...เซซามิน(sesamin) เข้าไปทำอะไรกับ เซลล์มะเร็ง
คลิ๊ก.....ชมคลิปนี้ !!!
สารเซซามิน(sesamin)มีฤทธิ์ในการป้องกันเซลล์มะเร็งมะเร็งลำไส้
คณะนักวิจัยที่ค้นพบสรรพคุณ ของสารสกัดเซซามิน (Sesamin) ในเมล็ดงาเมล็ดเล็กๆ นี้นำทีมโดย ศ.ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ ผู้ทุ่มเทเวลาทั้งชีวิตของท่านอยู่ในห้องทดลอง เพื่อค้นคว้าหาหนทางใหม่ๆ มาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สารสกัดเซซามิน(sesamin)ช่วยดูแลและยับยั้งเซลล์มะเร็ง"มะเร็งลำไส้
สารสกัดเซซามิน SESAMIN เหมาะกับใครบ้าง?
ผู้ที่ต้องการลดผลข้างเคียงในระหว่างการให้คีโม หรือ ฉายแสง ทำให้เกิดอาการแพ้น้อยลง
ผู้ที่ต้องการเพิ่มภูมิคุ้มกันของตัวเองให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยให้ร่างกายตอบรับการรักษามะเร็ง
ผู้ที่ไม่สามารถใช้ คีโม หรือ ฉายแสง ในการรักษามะเร็งด้วยตัวเองได้
ผู้ที่ต้องการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดเนื้อร้าย ในการรักษามะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่มีผลข้างเคียงในการรักษามะเร็ง
ผู้ที่คิดว่าตัวเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นเนื้อร้าย หรือ มะเร็ง เนื้องอก ซีส
ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ และ มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง
ผู้ที่มีปัญหาเม็ดเลือดขาวตก ไม่สามารถให้คีโมได้
มะเร็ง...มะเร็งลำไส้.มะเร็งทุกระยะมีพิษร้ายแรง
>>>อย่ารอให้ถึงระยะสุดท้ายแล้วค่อยรักษา.....
>>>.ตัดสินใจช้าอาจจะเป็นการตัดสินใจครั้งสุดท้ายของคุณ...
มีโอกาส....รอดถ้าคุณรีบตัดสินใจ.....