มาดูผลกระทบต่อระบบการทำงานในส่วนต่างๆของร่างกายต่อเมื่อได้รับยาเคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ที่มีการแบ่งตัวเร็ว ซึ่งนอกจากเซลล์มะเร็งแล้วจึงมีผลกระทบต่อเซลล์ปกติของร่างกายที่มีการแบ่งตัวเร็วด้วย ได้แก่ เซลล์ใน
ไขกระดูก เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร รากผม เป็นต้น
ดังนั้นยาพวกนี้จึงมีผลข้างเคียงมากกว่ายาในกลุ่มอื่น ผลกระทบนี้อาจจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงในแต่ละระบบดังนี้
️ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
คลื่นไส้ อาเจียน พบได้บ่อย และขึ้นอยู่กับชนิดของยาเคมีบำบัดที่ได้รับ อาการจะเกิดได้ภายใน 1-2 ชั่วโมง หลังได้รับยา และอาการส่วนใหญ่จะหายไปภายใน 24 ชั่วโมง ยกเว้นสำหรับยาเคมีบำบัดบางชนิดที่อาจทำให้
เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้นานถึง 3-7 วัน หลังจากได้ยาครั้งสุดท้าย
เบื่ออาหาร เนื่องจากยาเคมีบำบัดมีผลทำให้การรับรสอาหารเปลี่ยนแปลง ความอยากรับประทานอาการลดลง
อาการนี้จะเกิดขึ้นชั่วคราว และหายไปภายใน 2-6 สัปดาห์หลังได้รับยา
เยื่อบุช่องปากอักเสบ เกิดเนื่องจากยาเคมีบำบัดมีผลต่อการแบ่งตัวของเซลล์เยื่อบุช่องปาก ทำให้มีอาการ
ปากแห้ง เจ็บและมีแผล อาจจะมีการติดเชื้อในช่องปากได้ รับประทานอาหารได้ลดลง อาการนี้จะเกิดขึ้นหลังได้รับยา 5-7 วัน อาการจะดีขึ้น ถ้าได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง และเมื่อยาหมดฤทธิ์
เยื่อบุหลอดอาหารอักเสบ ทำให้เกิดอาการคอแห้ง เจ็บคอ กลืนอาหารลำบาก
ท้องเสีย เกิดจากยาระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร ทำให้การย่อย และดูดซึมอาหารลดลง อาการจะเป็นอยู่ชั่วคราว และจะดีขึ้นเมื่อยาหมดฤทธิ์
ท้องผูก เนื่องจากยามีผลต่อเส้นประสาทบริเวณลำไส้ ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ อาการนี้จะเกิดขึ้นชั่วคราว
และดีขึ้นภายหลังได้ยา 1 สัปดาห์
️ส่งผลต่อระบบไขกระดูก ยาเคมีบำบัดจะไปกดการทำงานของไขกระดูก มีผลต่อการสร้างเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดงและเกร็ดเลือด ทำให้เกิดผลดังนี้
ภูมิต้านทานโรคต่ำ จากการที่ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ส่วนใหญ่จะ
เกิดขึ้นภายหลังได้รับยาแล้ว 10-14 วัน แล้วเม็ดเลือดขาวจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์หลังจากนั้น
️ส่งผลต่อภาวะโลหิตจาง อ่อนเพลียไม่มีแรง จะเกิดขึ้นภายหลังได้รับยาประมาณ 7 วันแล้วจะค่อย ๆ ดีขึ้น
ภาวะเลือดออกง่าย จากเกล็ดเลือดต่ำ อาจจะเกิดขึ้นภายหลังได้รับยาประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจะค่อยกลับ
สู่ปกติในสัปดาห์ที่ 3-4 หลังได้รับยาเคมีบำบัด
️ส่งต่อผิวหนัง ผม และขน โดยยาเคมีบำบัดทำให้เกิด
ผิวหนังแห้งและคัน ผิวคล้ำดำและมีความไวต่อแสงแดด และการเปลี่ยนแปลงของสีเล็บ จากผลของยาเคมีบำบัดบางชนิด
️ส่งผลต่อเส้นผมเนื่องจากยาเคมีบำบัดมีผลต่อรากผม และขน ทำให้ผม และขนร่วงง่าย อาการจะเป็นอยู่ชั่วคราวเท่านั้น โดยมีอาการเกิดขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์ หลังได้รับยา และผมจะงอกขึ้นใหม่ภายใน 1 เดือน
หลังจากหยุดยาแล้ว
️ส่งผลต่อปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อ ยาเคมีบำบัดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดบางกลุ่มมีผลต่อเนื้อเยื่อรุนแรง ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดดำ ทำให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อได้ถ้ามีการรั่วซึมของยาออกนอกเส้นเลือด
️ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง ผลมีทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือขาดประจำเดือนขณะได้รับการรักษา ส่วนในเพศชายอาจทำให้เชื้ออสุจิลดลง ซึ่งส่งผลให้ทั้งเพศหญิง และชายมีโอกาสเป็นหมันชั่วคราวขณะรับการรักษา การเปลี่ยนแปลงนี้มักจะหายไปหลังจากหยุดการรักษาประมาณ 18-24 เดือน แต่ในผู้ป่วยบางรายพบว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่กลับเป็นปกติ ทำให้มีโอกาสเป็นหมันถาวรได้
️ ส่งผลต่อวัยวะสำคัญ ได้แก่ ตับ ไต และระบบขับถ่ายปัสสาวะ พิษต่อตับ และไตขึ้นอยู่กับชนิดของยา ขนาดของ
ยา จำนวนครั้งที่ได้รับยา สำหรับไตอาจเกิดจากการรับน้ำไม่เพียงพอ นอกจากนี้อาจเกิดจากเซลล์มะเร็งที่ถูกทำลายด้วย ทำให้เกิดกรดยูริคในเลือดสูง ทำให้เกิดไตวายได้
️ผลต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชาปลายมือปลายเท้า สูญเสียการทรงตัว นอกจากนี้
ยังมียาเคมีบำบัดบางชนิดทำให้เกิดอาการซึมเศร้า และอาการทางจิตประสาทได้
แต่อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวข้างต้นไม่ได้เกิดในผู้ป่วยทุกคนที่ได้รับยาเคมีบำบัด และไม่เกิดกับยาเคมีบำบัดทุกชนิด โดยจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของยา ขนาดของยา และจำนวนครั้งที่ได้รับยา รวมถึงสภาวะพื้นฐานของร่างกายผู้ป่วยมะเร็งเอง อาจจะเกิดมากน้อย ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละบุคคลนั่นเอง